วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Practice

โจทย์
1.คมกฤษณ์เปิดตู้เย็น พบวุ้นกะทิค้างคืนส่งกลิ่นคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่เขากำลังจะหยิบวุ้นก้อนนั้นไปทิ้ง เขาก็ระลึกได้ว่าวุ้นก้อนนั้นเหมาะที่จะใช้ทดสอบความคมของมีดที่เพิ่งซื้อมาจากรายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ยามค่ำคืน
คมกฤษณ์ต้องการตัดวุ้นซึ่งเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากขนาด A×B×C นิ้ว โดยแต่ละครั้งที่เขาตัดวุ้น เขาจะเลือกตัดโดยพยายามแบ่งด้านที่ยาวที่สุดของวุ้นออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน แต่เนื่องจากเขาต้องการให้ขนาดของวุ้นเป็นจำนวนเต็มนิ้วเสมอ หากด้านที่ยาวที่สุดนั้นมีความยาวเป็นจำนวนคี่นิ้ว เขาจะฝานวุ้นทิ้ง 1 นิ้วก่อนจะแบ่งด้านนั้นออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน เมื่อตัดแบ่งแล้ว คมกฤษณ์จะโยนวุ้นส่วนใดส่วนหนึ่งทิ้งไป ก่อนจะพยายามตัดวุ้นส่วนที่เหลืออีกครั้งด้วยวิธีการเดิม

สังเกตว่าคมกฤษณ์จะตัดวุ้นไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเหลือวุ้นขนาด 1×1×1 นิ้ว (หากคมกฤษณ์ยังรั้นตัดวุ้นต่อไปอีก วุ้นจะเละ ส่งกลิ่นคละคลุ้งรุนแรงกว่าเดิม)

งานของคุณ
รับข้อมูลขนาดของวุ้น แล้วคำนวณว่าคมกฤษณ์จะตัดวุ้นตามขั้นตอนได้กี่ครั้ง (ไม่นับการฝานวุ้น)
ข้อมูลนำเข้า
บรรทัดเดียว ระบุจำนวนเต็ม A, B และ C (1 ≤ A,B,C ≤ 1,000,000) คั่นด้วยช่องว่างหนึ่งช่อง
ข้อมูลส่งออก
บรรทัดเดียว ระบุว่าคมกฤษณ์จะตัดวุ้นตามขั้นตอนได้กี่ครั้ง

อธิบายตัวอย่างข้อมูลที่ 1
ครั้งที่ 1: วุ้นขนาด 2×5×4 นิ้ว จะถูกตัดเป็นวุ้นขนาด 2×2×4 นิ้ว เพราะด้านที่ยาวที่สุดคือด้านที่ยาว 5 นิ้ว เนื่องจากเป็นจำนวนคี่จึงถูกฝานออก 1 นิ้ว เหลือ 4 นิ้ว ก่อนจะถูกตัดแบ่งเป็นส่วนละ 2 นิ้วครั้งที่ 2: วุ้นขนาด 2×2×4 นิ้ว จะถูกตัดเป็นวุ้นขนาด 2×2×2 นิ้ว เพราะด้านที่ยาวที่สุดคือด้านที่ยาว 4 นิ้ว เนื่องจากเป็นจำนวนคู่จึงตัดแบ่งเป็นส่วนละ 2 นิ้ว
ครั้งที่ 3: วุ้นขนาด 2×2×2 นิ้ว จะถูกตัดเป็นวุ้นขนาด 1×2×2 นิ้ว
ครั้งที่ 4: วุ้นขนาด 1×2×2 นิ้ว จะถูกตัดเป็นวุ้นขนาด 1×1×2 นิ้ว
ครั้งที่ 5: วุ้นขนาด 1×1×2 นิ้ว จะถูกตัดเป็นวุ้นขนาด 1×1×1 นิ้ว

ที่มา
การแข่งขัน IOI Thailand League เดือนตุลาคม 2553โจทย์โดย: ธนะ วัฒนวารุณ
ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า                                                           ตัวอย่างข้อมูลส่งออก
2 5 4                                                                                                            5
17 13 11                                                                                                      10

CODEที่ใช้แก้ปัญหา
def cal_value(value):
    lists = []
    value = value+' '
    temp = ' '
    for i in range(len(value)):
        if value[i] != ' ':
            temp = temp+value[i]
        else:
            lists.append(int(temp))
            temp = ' '
    return lists
def jelly(size_jelly_in):
    size_jelly = cal_value(size_jelly_in)
    count = 0
    if(len(size_jelly)>3):
        return 'Input data is incorrect'
    else:
        for j in range(len(size_jelly)):
            while(size_jelly[j] != 1):
                if(size_jelly[j]%2 != 0):
                    size_jelly[j] = size_jelly[j]-1
                    print('**CUT OUT**',size_jelly)
                    while(size_jelly[j] != 1 and size_jelly[j]%2 == 0):
                        size_jelly[j] = size_jelly[j]/2
                        count = count+1
                        print('Divine' ,size_jelly)
                if(size_jelly[j]%2 == 0):
                    while(size_jelly[j] != 1 and size_jelly[j]%2 == 0):
                        size_jelly[j] = size_jelly[j]/2
                        count = count+1
                        print('Divine' ,size_jelly)
        return 'count :',count    
data_in = input('input your size of jelly :')
print(jelly(data_in))
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2.พาลินโดรม (palindrome) คือ คำที่ใช้มีลำดับของอักขระเรียงกันจากซ้ายไปขวาและขวาไปซ้ายมายังตำแหน่งกึ่งกลางของคำนั้น อยู่ในลักษณะสมมาตรกัน ตัวอย่างของพาลินโดรมได้แก่ ABA, ABBA, ABAABA, ABABABA 

พาลินโดรมชั้นสอง (double palindrome)
 คือ พาลินโดรมซึ่งทั้งครึ่งแรกและครึ่งหลังของคำนั้นก็เป็นพาลินโดรมด้วย ดังนั้น ABA, ABAABA, ABABABA นอกจากจะเป็น พาลินโดรมแล้วก็ยังเป็น พาลินโดรมชั้นสองด้วย แต่คำว่า ABBA ไม่เป็นพาลินโดรมชั้นสองเนื่องจากว่าเมื่อแบ่งครึ่งแล้ว AB และ BA ไม่เป็นพาลินโดรมนั่นเอง 

จงเขียนโปรแกรม เพื่ออ่านข้อมูลนำเข้าจากแป้นพิมพ์ (Standard input) และแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ (Standard Output) โดยข้อมูลนำเข้าเป็นคำหนึ่งคำให้บอกว่าคำนั้นเป็น พาลินโดรม พาลินโดรมชั้นสอง หรือ ไม่เป็นพาลินโดรม โดย ถ้าเป็นพาลินโดรม (แต่ไม่เป็นพาลินโดรมชั้นสอง) ให้แสดงคำว่า Palindrome และ ถ้าเป็นพาลินโดรมชั้นสองให้แสดงคำว่า Double Palindrome และถ้าไม่เป็นทั้งสองแบบให้แสดงคำว่า No 

กำหนดให้
คำภาษาอังกฤษดังกล่าว ประกอบด้วยอักขระตัวใหญ่ (Capital letters) จาก A ถึง Z หรือ อักขระตัวเล็ก (Small letters) จาก a ถึง z หรือตัวเลข 0-9 เท่านั้น และไม่มีช่องว่างภายในคำ ทั้งนี้ตัวอักขระที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็ก (เช่น A กับ a หรือ B กับ b) ถือเป็นตัวเดียวกัน 
ข้อมูลนำเข้า
บรรทัดแรก
 เป็นคำที่มีความยาว n โดยที่ 2 <= n <= 200 

ข้อมูลส่งออก

บรรทัดแรก 
เป็นคำตอบว่าเป็นพาลินโดรมประเภทใดหรือไม่ใช่เลย โดย 
- ถ้าข้อมูลนำเข้าเป็นพาลินโดรมให้แสดงคำว่า Palindrome
- ถ้าข้อมูลนำเข้าเป็นพาลินโดรมชั้นสองให้แสดงคำว่า Double Palindrome 
ถ้าข้อมูลนำเข้าเป็นไม่ใช่พาลินโดรมทั้งสองประเภทให้แสดงคำว่า No 

ที่มา: การแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โอลิมปิกแห่งประเทศไทย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ประจำปี 2547

ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า                                                           ตัวอย่างข้อมูลส่งออก
     A72Bb72a                                                                                          Palindrome
     aB3Ba5ab3BA                                                                                Double  Palindrome
     ab4                                                                                                              No                      

CODEที่ใช้แก้ปัญหา
def is_palindrome(sentence):
    if(sentence.lower() == sentence[::-1].lower()):
        if(len(sentence)%2 !=0):
            index = (len(sentence)/2+0.5)
            spare_sentence = sentence[int(index):len(sentence)]
            if(sentence[0:int(index-1)].lower() == spare_sentence.lower()):
                return sentence+' is '+'Double palindrome'
            else:
                return sentence+' is '+'Palindrome'
        if(len(sentence)%2 ==0):
            index = (len(sentence)/2)
            spare_sentence = sentence[int(index):len(sentence)]
            if(sentence[0:int(index)].lower() == spare_sentence.lower()):
                return sentence+' is '+'Double palindrome'
            else:
                return sentence+' is '+'Palindrome'
    else:
        return sentence+' is not '+'Palindrome'

print(is_palindrome(input('input your sentence :')))
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3.รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (right, rectangled) มีมุมภายในมุมหนึ่งมีขนาด 90° (มุมฉาก) ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับมุมฉากเรียกว่า ด้านตรงข้ามมุมฉาก ซึ่งเป็นด้านที่ยาวที่สุดในรูปสามเหลี่ยม อีกสองด้านเรียกว่า ด้านประกอบมุมฉาก

มีทฤษฎีที่เกียวข้องกับสามเหลี่ยมมุมฉาก ทฤษฎีนั้นคือ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส กล่าวไว้ว่า "ผลรวมของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านประชิดมุมฉากทั้งสอง จะเท่ากับ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านตรงข้ามมุมฉาก"


โจทย์
จงคำนวณความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เมื่อระบุความยาวของด้านประกอบมุมฉากทั้งสองด้านมาให้

ข้อมูลนำเข้า
บรรทัดแรก ประกอบไปด้วยจำนวนจริงบวก 2 จำนวน คั่นด้วยช่องว่าง 1 ช่อง แต่ละจำนวนจะบ่งบอกถึงความยาวของด้านประกอบมุมฉากของรูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง

ข้อมูลส่งออก
บรรทัดแรกเพียงบรรทัดเดียว แสดงความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านประกอบมุมฉากที่มีความยาวเท่ากับที่ระบุไว้ในข้อมูลนำเข้า ตอบเป็นทศนิยม 6 ตำแหน่ง

ที่มา: Programming.in.th (Northern_series)

ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า                                                           ตัวอย่างข้อมูลส่งออก
3.000 4.000                                                                                             5.000

CODEที่ใช้แก้ปัญหา

def cal_value(value):#ฟังก์ชั่นไว้แยกตัวเลขกับช่องว่าง
    lists = []
    value = value+' '
    temp = ' '
    for i in range(len(value)):
        if value[i] != ' ':
            temp = temp+value[i]
        else:
            lists.append(int(temp))
            temp = ' '
    return lists
def pythagorus(width_in):
    width = cal_value(width_in)
    if(len(width)>2):
        return 'Your data is incorrect'
    else:
        return ((width[0]**2)+(width[1]**2))**(0.5)
data_in = input('input your data :')
print(pythagorus(data_in))

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Python in Netbeans

ขั้นตอนที่ 1 เราต้องทำการไปดาวน์โหลดโปรแกรม Netbeans มาติดตั้งในเครื่องของเราก่อนโดยสามารถไปดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์(https://netbeans.org/downloads/index.html)เมื่อทำการดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นเราก็ทำการ install ตัว Netbeans ลงไปซึ่งการ install ลงไปนั้นทำได้ไม่อยากแค่กด Next แล้วอ่านนิดๆหน่อยๆ


ขั้นตอนที่ 2 เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Netbeans เสร็จเราก็ไปทำการโหลดตัวปลั้กอินที่เป็น Python มาโดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บของ Netbeans ได้เลย


โดยเข้าไปที่ในส่วนของ Plugins แล้วค้นหาคำว่า Python ก็จะสามารถดาวน์โหลดมาได้ พอทำการดาวน์โหลดมาเรียบร้อยให้เข้าไปที่ตัว Netbeans
แล้วไปที่คำสั่ง Tools-->Plugins--->Downloaded แล้วกดปุ่ม Add Plugins แล้วทำการเลือกไฟล์ที่เราทำการดาวน์โหลดมาทั้งหมดแล้วกด install


ขั้นตอนที่ 3 เมื่อเราทำการติดตั้งเสร็จทั้งหมดแล้วถ้าตามปกติแล้วจะสามารถสร้าง Project ขึ้นมาใหม่ได้เลยโดยเลือกไปที่ Python ได้เลย


แต่ว่าถ้าเกิดไม่สามารถสร้างโปรเจ๊คได้โดยจะเขียนว่า Wrong Python platform เราสามารถทำการแก้ไขได้โดยไปที่เว็บไซต์(www.python.org)แล้วทำการดาวน์โหลดตัว Python มา


พอเราทำการติดตั้งตัว Python เสร็จโปรแกรม Netbeans จะทำการหา platform ให้เราโดยอัติโนมัติแต่ถ้าไม่หายก็ทำขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่3.1 ให้เรากดตรงปุ่ม manage--->New แล้วเลือกไปที่ Python ที่เราลงไปก็จะสามารถใช้งาน Python บน Netbeans ได้แล้ว






วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Practice

ในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ใช้วิธีการเก็บคะแนนในรูปแบบของ
  • คะแนนเก็บ 30 คะแนน
  • คะแนนสอบกลางภาค 30 คะแนน
  • คะแนนสอบปลายภาค 40 คะแนน
รวมทั้งสิ้น 100 คะแนน หลังจากที่จบภาคการศึกษา ฝ่ายทะเบียนวัดผลของโรงเรียนต้องการให้อาจารย์ที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์มาคีย์คะแนนลงในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้ทราบถึงเกรดที่นักเรียนแต่ละคนควรจะได้ โดยใช้โปรแกรมเข้าช่วย แต่เนื่องจากว่าทางงานทะเบียนวัดผลนี้ยังไม่มีโปรแกรมใช้ (อาจเป็นเพราะเหตุเกิดเมื่อนานมาแล้ว) อาจารย์ฝ่ายทะเบียนวัดผลจึงมาขอให้คุณช่วยเขียนโปรแกรมให้หน่อย

โจทย์
ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมตัดเกรดเพื่อช่วยงานทะเบียนวัดผลของโรงเรียนแห่งนี้

ข้อมูลนำเข้า
บรรทัดแรก จำนวนเต็มบวก a (0 <= a <= 30) เป็นคะแนนเก็บของนักเรียน
บรรทัดที่สอง จำนวนเต็มบวก b (0 <= b <= 30) เป็นคะแนนสอบกลางภาคของนักเรียน
บรรทัดที่สาม จำนวนเต็มบวก c (0 <= c <= 40) เป็นคะแนนสอบปลายภาคของนักเรียน

ข้อมูลส่งออก
บรรทัดแรก เป็นอักขระใช้แทนเกรดของนักเรียน โดยที่ใช้อักขระตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • A ถ้าคะแนนรวมของนักเรียนอยู่ในช่วง 80 - 100
  • B+ ถ้าคะแนนรวมของนักเรียนอยู่ในช่วง 75 - 79
  • B ถ้าคะแนนรวมของนักเรียนอยู่ในช่วง 70 - 74
  • C+ ถ้าคะแนนรวมของนักเรียนอยู่ในช่วง 65 - 69
  • C ถ้าคะแนนรวมของนักเรียนอยู่ในช่วง 60 - 64
  • D+ ถ้าคะแนนรวมของนักเรียนอยู่ในช่วง 55 - 59
  • D ถ้าคะแนนรวมของนักเรียนอยู่ในช่วง 50 - 54
  • F ถ้าคะแนนรวมของนักเรียนอยู่ในช่วง 0 - 49
ที่มา: Programming.in.th (Northern_series)
ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า                                                           ตัวอย่างข้อมูลส่งออก
            25                                                                                       A
            25
            30


codeที่ใช้
def grading(score,mid,final):#สร้างฟังก์ชั่นคำนวนเกรดขึ้นมา
total = score+mid+final;#หาคะแนนรวม
#นำคะแนนรวมไปกำหนดช่วงของเกรด
    if(total>100):
        print('impossible')
    if(total>=80)and(total<=100):
        print('A')
    if(total>=75)and(total<80):
        print('B+')
    if(total>=70)and(total<75):
        print('B')
    if(total>=65)and(total<70):
        print('C+')
    if(total>=60)and(total<65):
        print('C')
    if(total>=55)and(total<60):
        print('D+')
    if(total>=50)and(total<55):
        print('D')
    if(total>=0)and(total<50):
        print('F')

score_in = int(input('input you score :'))#ใส่ค่าของคะแนนเก็บ
mid_in = int(input('input you mid score :'))#ใส่ค่าของคะแนนมิดเทอม
final_in = int(input('input you final score :'))#ใส่ค่าของคะแนนไฟนอล
grading(score_in,mid_in,final_in)#เรียกใช้ฟังก์ชั่นคำนวณเกรด



--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
โจทย์
จงหาค่าน้อยที่สุด และค่ามากที่สุด จากข้อมูลที่กำหนดให้ และแสดงผลออกทางจอภาพ 
ข้อมูลนำเข้า
บรรทัดแรก
 จำนวนเต็มบวก n (1 <= n <= 1,000) บ่งบอกถึงจำนวนข้อมูลที่โจทย์กำหนดให้ 
บรรทัดที่ 2 ถึง n+1
 จำนวนเต็ม Ai เป็นข้อมูลทั้งหมด ( -2,000,000,000 <= Ai <= 2,000,000,000) 
ข้อมูลส่งออก
บรรทัดแรก จำนวนเต็ม m แสดงจำนวนที่มีค่าน้อยที่สุดในชุดข้อมูลที่โจทย์กำหนด 
บรรทัดที่สอง
 จำนวนเต็ม M แสดงจำนวนที่มีค่ามากที่สุดในชุดข้อมูลที่โจทย์กำหนด
ที่มา: Programming.in.th (Northern_series)

ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า                                                           ตัวอย่างข้อมูลส่งออก
              5                                                                                                      1
              1                                                                                                      5
              2
              3
              4
              5
codeที่ใช้

score_intial = int(input('input score(1-1000) :'))#ใส่ค่าที่โจทย์กำหนด 
minValue = score_intial 
maxValue = 0
while 0<10000:#วนลูปเพื่อใส่ค่าmax,min
     score_in = int(input('input score((Press -1 if you want to know value)) :'))#ใส่ชุดของข้อมูล     if(score_in == -1):#ใส่ค่า-1เพื่อให้แสดงข้อมูลmax,min
        print('you min value is :',minValue,'you max value is:',maxValue)
        break;
    if(score_in>maxValue):#ถ้าค่าที่ใส่มากกว่าค่าmaxให้เป็นmax
        maxValue = score_in
    if(score_in<minValue):#ถ้าค่าที่ใส่น้อยกว่าค่าminให้ป็นmin
        minValue = score_in

Basic Python(Function,Loop)

คำสั่งที่ทำให้ทำซ้ำวนลูปนั้นจะมีตัวที่ใช้ได้หลายตัวแล้วแต่กรณีออกไปโดยในที่นี้จะยกตัวอย่างเป็น while ลูปก่อนโดย while ลูปนั้นจะมีหลักการทำงานคือ

while Condition:
  Statement
  .
  .

โดยถ้าเข้าเงื่อนไขก็จะวนลูปแล้วทำตาม Statement ด้านล่างพอไม่เข้าก็จะไปทำคำสั่งในส่วนอื่นต่อไป

คำสั่งที่ใช้วนลูปต่อมาคือ for ลูปโดยหลักการทำงานคือ

for ..... in .....:
  Statement
  .
  .

จะทำงานก็ต่อเมื่อตัวที่เปรียบเทียบกันอยู่นั้นเป็นจริง แล้วจะเข้าไปทำงานในส่วนของ Statement แล้วจะหยุดทำงานก็ต่อเมื่อตัวที่เปรียบเทียบกันเป็นเท็จ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การใช้งานในส่วน Function คือเราจะต้องทำการกำหนดให้มันเป็นฟังก์ชั่นแล้วก็มีการกำหนดตัว parameter ตามรูปแบบเช่นนี้

def ชื่อฟังก์ชั่น(พารามิเตอร์):
 คำสั่งในฟังก์ชั่น

โดยเมื่อเราทำการสร้างฟังก์ชั่นเสร็จแล้วเราก็นำไปเรียกใช้ได้โดยการใส่ชื่อฟังก์ชั่นแล้วก็พารามิเตอร์(ถ้ามี)ก็จะสามารถเรียกใช้งานฟังก์ชั่นได้

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Basic Python(Variable,Condition)

  การประกาศตัวแปลใน Python นั้นแตกต่างกับภาษาอื่นเนื่องจากการประกาศตัวแปลไม่จำเป็นต้องเขียนชนิดของ ตัวแปลตอนประกาศสามารถประกาศโดยการใส่ค่าลงไปได้เลยยกตัวอย่างเช่น



x = 20
y = 10

  เช่นกันกับ Condition ใน Python นั้นไ
ม่จำเป็นต้องมีวงเล็บตรงCondition ต่อหลัง if สามารถพิมพ์เงื่อนไขลงไปได้เลยโดยพอจบเงื่อนไขให้ใส่เครื่องหมาย : เพื่อแสดงว่าจบเงื่อนไขเช่น


if x>20:

  แต่จะต่างกันตรงที่ Statement นั้นต้องทำการย่อหน้าเข้ามาจาก if คือกด Tab เข้ามานั้นเองไม่เช่นนั้นโปรแกรมจะไม่สามารถทำงานได้ยกตัวอย่างเช่น


if x>20:
  print(x)

 และจากหัวข้อด้านบนก็ได้ไปทำการลองทำแบบฝึกหัดโจทย์คือ


  S คือ ค่าเฉลี่ยของตัวเลข 2 จำนวน X1 และ X2 โดย S มีค่าเท่ากับ (X1+X2)/2


สมชายให้ของขวัญปรีดา 2 ชิ้น ซึ่งมีมูลค่า X1 และ X2 โดยที่ X1 และ X2 เป็นจำนวนเต็ม ปรีดาได้คำนวณมูลค่าเฉลี่ยของของขวัญ 2 ชิ้นนั้นซึ่งมีค่าเป็นจำนวนเต็มเช่นกัน แต่ปรีดาได้ทำมูลค่าของของขวัญชิ้นที่ 2 (X2) หายไปโดยที่
(ข้อมูลนำเข้าประกอบด้วย เลขจำนวนเต็ม 2 จำนวน คือ X1 และ S ตามลำดับ โดยทั้งนี้ค่า X1 และ S จะมีค่าอยู่ในช่วง -1000 ถึง 1000) 

 จงคำนวณหาค่า X2(ขอบคุณแบบฝึกหัดจาก www.programming.in.th)

โค้ดของโปรแกรม(ในที่นี้เปลี่ยนค่าXเป็นcostเพื่อให้สื่อความหมาย)

cost_1 = 100//ระบุราคาของชิ้นที่ 1
cost_mean = 400//ระบุราคาเฉลี่ยทั้ง2ชิ้น
if -1000<=cost_1<=1000 and -1000<=cost_mean<=1000:
    print ('cost_2 is',cost_mean*2-cost_1)
if -1000>cost_1 or cost_1>1000:
    print('cost_1 is invalid')
if -1000>cost_mean or cost_mean>1000:
    print('cost_mean is invalid')



install ubuntu14.04

  เริ่มต้นมาเราได้มีระบบปฏิบัติการตัวนึงอยู่ในเครื่องอยู่แล้วเราเลยทำการไปดาวน์โหลดระบบปฏิบัติการubuntuโดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์นี้

 http://www.ubuntu.com/download/desktop

โดยไฟล์ที่เราได้นั้นจะเป็นไฟล์ iso 

ซึ่งต้องนำมาทำการใช้โปรแกรมลงUSB หรือ BURNลงแผ่น DVDโดยในที่นี้เราจะทำการใช้โปรแกรม Universal USB Installer โดยสามารถดาวน์โหลดได้จาก 

http://www.pendrivelinux.com/universal-usb-installer-easy-as-1-2-3/#button

  ในการนำไฟล์ iso ของเรานั้นลงไปใน flash drive ของเราโดยตัวโปรแกรมนั้นจะมีให้เลือกว่าต้องการนำระบบปฏิบัติการตัวไหนลงในFlashdriveโดยในที่นี้เราจะทำการเลือก ubuntu

 แล้วทำการเลือกไฟล์ iso

 โดยเมื่อเราทำการเลือกเสร็จแล้วตัวโปรแกรมก็จะจัดการเริ่มเอาไฟล์ลงไปให้ แล้วโปรแกรมทำเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็ทำการ restart เครื่องแล้วจึงเข้าไปในระบบปฏิบัติการ ubuntu แล้วก็ทำการติดตั้งให้เรียบร้อย โดยในที่นี้จะเลือกคำสั่ง install alongside ...
ตัว ubuntu นั้นจะจัดการให้เราสามารถลงระบบปฏิบัติการเพิ่มได้โดยทำการแบ่ง partition ออกมาให้เราโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลยแล้วก็ทำการ restart อีก 1 ทีเราก็จะได้ระบบปฏิบัติการที่ลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว